คลื่นลูกใหม่..มองตลาดอสังหาฯ : ปลาเล็กที่เร็วกว่าปลาใหญ่ เมื่อแบรนด์เล็กขึ้นเวทีสู้แบรนด์ใหญ่อสังหาฯ

ปลาเล็กที่เร็วกว่าปลาใหญ่ เมื่อแบรนด์เล็กขึ้นเวทีสู้แบรนด์ใหญ่อสังหาฯ

นักพัฒนาอสังหาฯที่จะยัดยืน สามารถสร้างแบรนด์และพัฒนาโครงการและประสบความสำเร็จได้อย่างต่อเนื่องวันนี้ต้องรูปรอบด้าน และคิดแบบ Outsite in

ในยุคที่พลวัตรโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านเทคโนโลยี ด้านสังคม ด้านกาเคลื่อนย้ายเงินทุน และนโยบายการเมืองระดับประเทศ  ธุรกิจหลายปีมานี้จึงไม่ใช่ยุคบ้านใหญ่กินปลาเล็กอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นปลาเร็ว กินปลาช้า เราจะพบว่าธุรกิจที่เคยประสบความสำเร็จอย่างสูง จนกลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีทุนมหาศาล หากวิสัยทัศน์องค์กรไม่สอดคล้องกับทิศทางของโลก หากเริ่มลงมือทำช้ากว่าคู่แข่ง หากความสามารถในการปรับตัวขององค์กรมีข้อจำกัดมาก และมีความคล่องตัวต่ำ จุดจบขององค์กรในยุค 4.0 ที่เป็นปลาช้า และเป็นปลาใหญ่ เกิดขึ้นและจบลงได้เร็วกว่าปลาเล็กเสียอีก ธุรกิจปลาช้าที่ทุกคนรู้จักอาทิเช่น โทรศัพท์ Black Berry, บริการ MSN และ
Internet Explorer ของ Microsoft, เครื่องใช้ไฟฟ้า Sony, การถดถอยของ Whatapp ในประเทศไทย (แต่ในต่างประเทศ ยังมีผู้นิยมใช้มากกว่า Line), ธุรกิจสิ่งพิมพ์จำนวนมาก, สถานีโทรทัศน์หลายแห่ง และอีกหลายๆธุรกิจที่ทุกอุตสาหกรรม ส่วนธุรกิจที่เป็นปลาเร็ว ที่ซึ่งเป็นแบรนด์ใหม่ทั้งที่เป็นของกลุ่มทุนใหญ่ และนักธุรกิจใหม่ทุนน้อยที่เติบโตอย่างรวดเร็วอาทิ โทรศัพท์เคลื่อนที่ Sumsung ที่มียอดขายมากกว่า Iphone เกือบหนึ่งเท่า และ Huawei, Oppo มียอดขายตาม Iphone ตามมาเป็นอันดับ 3 และ 4, โทรทัศน์, เครื่องดื่มหลากหลายรูปแบบในแบรนด์ใหม่และผู้ประกอบการใหม่ในร้านสะดวกซื้อ, ร้านอาหารใหม่ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วพร้อมกับห้างสรรพสินค้า, Facebook และ Line ที่เป็นมีเดียที่คนไทยส่วนใหญ่ใช้มากกว่า 2ชั่วโมงต่อวัน มากกว่าการชมสื่อ และยังไม่รวมถึงโมเดลธุรกิจอย่าง Airbnb และ Uber ที่อิมแพคคนทำธุรกิจอสังหาฯ และบริการขนส่งอย่างมาก  ล้วนเป็นตัวอย่างของปลาเร็ว กินปลาช้า

สำหรับธุรกิจอสังหาฯในบ้านเรา แม้การเปลี่ยนแปลงจะไม่เร็วมากเหมือนหลายๆอุตสาหกรรม แต่หากสำรวจผู้ประกอบพัฒนาอสังหาฯ ในช่วง 10ปีที่ผ่านมา จะพบว่ามีการสลับลำดับ และมีบริษัทใหม่เข้าสู่ และมีบริษัทพัฒนาอสังหาฯใหม่ที่ขึ้นมาเป็นระดับ Top20 (มูลค่าโครงการสูงาด) กันเกือบครึ่งหนึ่ง ทั้งจากกลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่, ผู้ประกอบการใหม่ที่เขาซื้อกิจการเดิม และกลุ่มทุนใหญ่ที่มาลงทุนเพิ่มในอสังหาฯ ซึ่งทุกบริษัทที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แย่งส่วนแบ่งการตลาดรายใหญ่เดิม และเติบโตแซงเหล่าบริษัทพัฒนาอสังหาฯที่มีอยู่เก่าแก่เดิมขึ้นมาได้ ล้วนมีสิ่งหนึ่งเหมือนกัน นั้นคือความสามารถในการปรับตัว ทั้งด้านการออกแบบ, การก่อสร้าง, การตลาด, และการบริการหลังการขายที่ตอบโจทย์ลูกค้า ในช่วงเวลาที่ Supply ล้นปิ่มๆ ซึ่งเป็นตลาดที่ผู้ซื้อเป็นผู้เลือก ( Buyer Market )


ชยพล หรรรุ่งโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อัลติจูด ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้พัฒนาโครงการอสังหาฯ ภายใต้แบรนด์ “ALTITUDE” ได้ให้มุมมองที่น่าสนใจว่า ผู้ประกอบการอสังหาฯ วันนี้ต้องคิดและมองแบบ Outsite in ต้องวิเคราะห์ความคิด ค่านิยม รสนิยม และกำลังซื้อของลูกค้าให้ขาด ก่อนจะเลือกซื้อที่ดิน ก่อนจะวางคอนเซปท์โครงการ ก่อนจะวางกรอบให้ผู้ออกแบบ ก่อนจะกำหนดราคาขาย ก่อนกำหนดต้นทุนค่าก่อสร้าง ก่อนจะวางแผนการตลาด และก่อนจะวางแผนการเงิน รวมถึงก่อนจะเลือกทีมงานที่มาร่วมงานและดูแลโครงการใน Segment นั้นๆ

ถึงแม้จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบการใหม่ แต่หากวิเคราะห์ตลาด ณ เวลานั้นได้ขาด และมีความสามารถในการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจและการพัฒนาโครงการ ให้สอดคล้องและสนองความต้องการของลูกค้าได้ทุกมิติ ทั้งด้านรสนิยม ค่านิยม รูปแบบการใช้ชีวิต พฤติกรรมการใช้เงิน และความสามารถทางการเงินของลูกค้าได้ ย่อมสามารถเป็นปลาเร็ว ที่แซงปลาใหญ่ใน Segment ย่อย นั้นๆ หรือทำเลนั้นๆได้ไม่ยาก

ในธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ การจะมีผลตอบแทนต่อหุ้น หรือผลตอบแทนการลงทุนที่ดีที่สุดนั้น ไม่ได้มาจากการมียอดขายรวมมากที่สุด แต่มาจากการเหลือห้องรอการขาย(และรอโอนกรรมสิทธิ์)น้อยที่สุด เมื่อโครงการแล้วเสร็จ ปลาใหญ่ที่ทำโครงการขนาดใหญ่แต่มีห้องชุดที่ไม่สามารถโอนได้ ไม่สามารถขายของที่สะสมไว้ในโครงการที่ทยอยแล้วเสร็จจำนวนมาก ซึ่งมีเหตุมาจากการพัฒนาโครงการเร็วไปภายใต้รูปแบบที่เคยสำเร็จมา โดยไม่ทันได้ปรับตัวให้สอดคล้องต่อสภาวะลูกค้าที่เปลี่ยนไป ณ ช่วงเวลานั้นๆ ในทำเลนั้น และในสภาวะที่เศรษฐกิจทรงตัว และมีโครงการให้เลือกจำนวนมาก การปรับตัวเพียงเล็กน้อยมีผลต่อยอดขาย ยอดโอนโครงการอย่างมาก กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่อาจเปลี่ยนไปจากการเปิดขายโครงการอื่นก่อนหน้า ที่อาจดูดซับลูกค้าชั้นดีหรือนักลงทุนที่มีศักยภาพไปก่อนแล้ว การออกแบบ การใช้วัสดุ การวางผังห้องและโครงการที่ดีและถูกใจกลุ่มเป้าหมายให้ได้เหนือคู่แข้งเพียงไม่มาก ก็มีผลอย่างมากต่อการตัดสินใจซื้อในช่วงเวลาที่เป็นตลาดของผู้ซื้อนี้ การจัดการสื่อการตลาด และการสื่อสารการบริการหลังการขายที่ปรับตัวเร็วและตื่นตัวตลอดเวลาในยุคที่ข่าวสารรวดเร็ว และลูกค้าเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย จะมีผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างมาก

หากมองในมุมความได้เปรียบที่นักพัฒนาอสังหาฯ รายใหม่ และพัฒนาโครงการขนาดเล็กถึงกลางมี คือความคล่องตัวสูงที่กว่า มีข้อจำกัดน้อยกว่า ในการปรับเปลี่ยนขนาดโครงการ รูปแบบโครงการ และการสื่อสารการตลาด สำหรับลูกค้าแต่ละกลุ่ม แต่ละรูปแบบโครงการ แต่ละทำเล ที่มีความหลากหลายด้านวัตถุประสงค์ในการซื้อ รูปแบบการใช้ชีวิต ค่านิยม วิธีคิด และความสามารถในการซื้อ ซึ่งต้องนำจุดนี้พลิกมาเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันกับบริษัทขนาดใหญ่

“ต้องเป็นปลาเล็กที่เร็วกว่าปลาใหญ่ แม้เราจะกินได้คำเล็กกว่า แต่ทานได้มากกว่าปลาใหญ่ เมื่อเทียบต่อปริมาณน้ำหนักตัวที่มี เราจะกลายเป็นปลาเล็กที่โตเร็วได้ และจะเป็นปลาที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆได้เช่นกัน”

ผู้ประกอบการนอกจากจะต้องคิดและมองแบบองค์รวมเพื่อปรับการพัฒนาโครงการให้ทันต่อการช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดให้เร็วกว่า และดีกว่าแล้ว ในกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในแต่ละ segment และทำเล ซึ่งจำนวนลูกค้าจะเหลือน้อยลงเรื่อยๆในอนาคต การคัดสรรทีมงานที่มีพลัง มีไอเดีย ศึกษา ติดตาม รับฟัง และสามารถปรับสินค้าและโครงการตลอดเวลาให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่หลงประเด็น ก็เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง