5 ปี “ลุมพินี”แลนด์มาร์คใหม่กรุงเทพฯ 3โปรเจคใหญ่ วันแบงคอก-หลังสวนวิลเลจ-ดุสิตธานี สร้างเสร็จ

5 ปี “ลุมพินี”แลนด์มาร์คใหม่กรุงเทพฯ 3โปรเจคใหญ่

วันแบงคอก-หลังสวนวิลเลจ-ดุสิตธานี สร้างเสร็จ

บริษัท พร็อพทูมอร์โร กรุ๊ป จำกัด และเว็ปไซต์ พร็อพทูมอร์โร จัดงานสัมมนาภายใต้หัวข้อ“Bangkok’s New Landmark แนวโน้มกรุงเทพเมืองใหม่จากแลนด์มาร์คใหม่”

น.ส.อลิวัสสา พัฒนถาบุตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีบีอาร์อี จำกัด กล่าวว่า ภายใน 5 ปีข้างนี้หน้าแลนด์มาร์คของกรุงเทพฯจะเปลี่ยนไปในอีกรูปแบบหนึ่ง ปัจจุบันมองแลนด์มาร์คแค่ตัวอาคารที่มีรูปร่าง สะดุดตา โดยทำเลแรกที่จะเป็นแลนด์มาร์คคือ บริเวณรอบสวนลุมพินี เพราะมีโครงการขนาดใหญ่ถึง 3 โครงการจะเกิดขึ้น คือ โครงการ วันแบงคอก มีพื้นที่ 104 ไร่ อยู่ตรงหัวมุมวิทยุ ตัดพระราม 4 ,โครงการหลังสวน วิลเลจ  มีเนื้อที่ 56 ไร่ ของสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และโครงการของกลุ่มโรงแรมดุสิตธานี หัวมุมถนนสีลม ขนาด 23 ไร่

“เมื่อโครงการทั้ง 3 เสร็จสมบูรณ์ ทำให้สวนลุมเป็นนิวแลนด์มาร์คใหม่ของกรุงเทพฯทำเลแรก เพราะด้วยพื้นที่ตรงนี้อยู่ริมถนนใหญ่ ได้เอฟเออาร์เต็ม สามารถสร้างอาคารขนาดสูงได้เต็มที่ จึงสามารถพัฒนาเป็นมิกซ์ยูสเต็มรูปแบบ มีครบทั้งโรงแรม ที่อยู่อาศัย คอมเมอร์เชียล”น.ส.อลิวัสสากล่าว

ในอีก 5 ปีข้างหน้า เมื่อโครงการดังกล่าวสร้างเสร็จ จะทำให้พื้นที่สำนักงานเพิ่มขึ้นมาก จากปัจจุบันอยู่ 4.4 ล้านตรม.เพิ่ม 7.85 แสนตร.ม. รวมเฉพาะแค่วันแบงคอก เฟสเดียว ส่วนรีเทลปัจจุบันมีพื้นที่รวม 1.5 แสนตร.ม. เพิ่มขึ้นอีก 2.85 แสนตร.ม. หรือ 9% ในอีก 5 ปีข้างหน้า และจะมีโรงแรมเพิ่มขึ้นอีก 18%

ในอนาคตทำเลที่จะพัฒนาเป็นแลนด์มาร์คได้ คือ โซนติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งเจริญนคร และเจริญกรุง  ซึ่งมีจุดเด่นของทำเลที่มีคาแรกเตอร์ที่ไม่เหมือนใคร สังเกตว่าคอนโดมิเนียมติดริมแม่น้ำจริงๆ เมื่อพัฒนาออกมาขายได้ 100% นอกจากนี้ยังมีรถไฟฟ้าสายสีทองที่เชื่อมในเมืองกับฝั่งธน

น.ส.อลิวัสสา กล่าวต่อว่า นอกจากนี้พื้นที่น่าสนใจ มีหลายพื้นที่ เช่น พื้นที่มักกะสัน จะเปิดการประมูลเร็วๆนี้ ต้องดูว่าผู้ประมูลทำรูปแบบออกมาอย่างไร และใครจะเข้าร่วมประมูล  พื้นที่พระราม 9 มีโครงการ ซุปเปอร์ทาวเวอร์ พื้นที่ สุขุมวิท บางนา มีโครงการ แบงคอก มอลล์ เชื่อมต่อไปสุวรรณภูมิ

ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมตรีอนุมัติในปีนี้อีก 7 โครงการ รวมระยะทาง 97.6 กิโลเมตร (21.03%) ประกอบด้วย สายสีแดงเข้มช่วงรังสิต-มธ.รังสิต ระยะทาง 10 กิโลเมตร สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14 กิโลเมตรา สายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมนฑลสาย 4 ระยะทาง 8 กิโลเมตร สายสีเขียวเข้มช่วง คูคต-ลำลูกกา ระยะทาง 6.8 กิโลเมตร สายใหม่ ARL ระยะที่ 1 พญาไท-บางซื่อ ระยะที่ 2 บางซื่อ-ดอนเมือง รวมระยะทาง 21.8 กิโลเมตร สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร ส่ายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร และ ยังไม่ได้ดำเนินการอีก (9.75%) อย่างไรก็ตามในปี 2562 จะเปิดให้บริการระยะทาง 140.2 กิโลเมตร ปี 2564 เปิดให้บริการ 326.4 กิโลเมตร ปี 2572 เปิดให้บริการ ระยะทาง 418.9 กิเลมตร รวม 464 สถานี ซึ่งผู้ประกอบการควรพิจารณาลงทุนตามแนวรถไฟฟ้าและสถานีรถไฟฟ้าที่มีศักยภาพ

ระบบรางหนุนเกิดเมืองศูนย์กลางใหม่

ด้านนายอิสระ บุญยัง  นายกกิตมศักดิ์สมาคมธุกิจบ้านจัดสรร และกรรมการผู้จัดการบริษัทกานดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด กล่าวว่า การพัฒนาโครงข่ายระบบรางจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กรุงเทพฯสามารถเติบโตไปได้อีกมาก นอกจากนี้การขยายระบบรางไปยังเส้นทางต่างจังหวัดยังทำให้จังหวัดที่เส้นทางรถไฟฟ้าผ่านมีการขยายตัวและเจริญเติบโตมากขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ยังทำให้เกิดเมืองศูนย์กลางที่กระจายตัวออกไปยังภูมิภาคแทนกรุงเทพเพียงแห่งเดียว อาทิ ภาคตะวันออกที่รัฐบาลสนับสนุนให้เกิดโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกซึ่งจะมีทั้งระบบราง การขยายสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินนานาชาติ ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังซึ่งจะยกเลิกท่าเรือคลองเตยไปใช้ที่แหลมฉบังแทน

การขยายเส้นทางรถไฟฟ้าจะทำให้การพัฒนาออกไปยังนอกเมืองมากขึ้น แต่จำนวนที่ดินที่นำมาพัฒนาจำนวนเท่าเดิม หาก อัตราส่วนพื้นที่อาคารต่อพื้นที่ดิน หรือ Floor Area Ratio : FAR ไม่เปลี่ยนที่ดินที่จะนำมาพัฒนาใหม่ก็จะน้อยลง แม้ว่าจะพัฒนาไกลออกไปเพื่อให้สามารถพัฒนาที่อยู่อาศัยได้ในราคาถูกลง แต่พื้นที่รอบนอก FARกลับต่ำลงตามจึงไม่ได้ช่วยให้ราคาลดลงได้